Center of Believe
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ดแห่งนี้นะครับ หากต้องการ Download ข้อมูลต่างๆ หรืออ่านข้อมูลต่างๆภายในเว็บ กรุณาสมัครสมาชิกก่อนนะครับ
Center of Believe
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ดแห่งนี้นะครับ หากต้องการ Download ข้อมูลต่างๆ หรืออ่านข้อมูลต่างๆภายในเว็บ กรุณาสมัครสมาชิกก่อนนะครับ
Center of Believe
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Center of Believe

ศูนย์กลางแห่งศรัทธา และ เครือข่ายวิจัยภาพเคลื่อนไหว
 
บ้านGalleryLatest imagesสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 อักษรกรีก

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Primo
Administrator
Administrator
Primo


จำนวนข้อความ : 54
ค่าความนิยม : 0
Join date : 30/07/2010
Age : 30
ที่อยู่ : Paradise Network

อักษรกรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: อักษรกรีก   อักษรกรีก EmptySat Jul 31, 2010 10:14 pm

อักษรกรีกมีความสำคัญกับเครือข่ายของเราอย่างไร

เครือข่ายของเราได้นำอักษรกรีกมาใช้เป็นอักษรแทนประจำตัวของแต่ละคน

ทำไมถึงเป็นอักษรกรีก

ในปัจจุบันอักษรกรีกนั้นถูกนำมาใช้วงการวิทยาศาสตร์ เป็นจำนวนมาก

ตัวอักษรกรีก (หมายเหตุ ณ ที่นี้ อักษรกรีกบางตัวสามารถอ่านได้หลายอย่างจากการศึกษาของตัวประธาน เพราะฉะนั้นอย่าตกใจถ้าเจออักษรกรีกตัวเดี่ยวกันแต่คำอ่านภาษาไทยคนละตัว)

Το ελληνικό αλφάβητο

ตัวอักษรกรีก (Το ελληνικό αλφάβητο) มีทั้งหมด 24 ตัว

วิธีการดู จะเรียงแบบนี้

อักษรตัวใหญ่,อักษรตัวเล็ก ... คำอ่านภาษาไทย (คำอ่านภาษาอังกฤษ) [คำอ่านภาษากรีก]

Α , α ... อัลฟ่า ( 'al-pha ) [ άλφα ]

Β , β ... วีต้า ( 'vi-ta ) [ βήτα ]

Γ , γ ... กัมม่า ( 'ga-ma ) [ γάμα ]

Δ , δ ... เดลต้า ( 'del-ta ) [ δέλτα ]

Ε , ε ... เอฟซิลอน ( 'ef-si-lon ) [ έψιλον ]

Ζ , ζ ... ซีต้า ( 'zi-ta ) [ ζήτα ]

Η , η ... อิต้า ( 'i -ta ) [ ήτα ]

Θ , θ ... ธีต้า ( 'thi-ta ) [ θήτα ]

Ι , ι ... โยต้า ( 'yo-ta ) [ γιώτα ]

Κ , κ ... กัปป้า ( 'ka-pa ) [ κάπα ]

(มาแก้ที่ร้าน เค้าไม่มีฟ้อนท์ภาษากรีก กลับบ้านแล้วจะแก้ให้อีกทีนะคะ) ... ลัมดะ ( 'lam-da ) [ ]

Μ , μ ... มิ ( mi ) [ μι ]

Ν , ν ... นิ ( ni ) [ νι ]

Ξ , ξ ... คซี ( k'si ) [ ξι ]

Ο , ο ... โอมิครอน ( 'o-mi-kron ) [ όμικρον ]

Π , π ... ปี ( pi ) [ πι ]

Ρ , ρ ... โร ( ro ) [ ρο ]

Σ , σ/ς ... ซิกม่า ( 'sig-ma ) [ σίγμα ]

ตัวอักษร Σ มีรูปแบบการเขียน 3 แบบ คือ Σ เป็นอักษรตัวใหญ่ใช้เขียนขึ้นต้นประโยค หรือชื่อเฉพาะ σ ใช้เขียนขึ้นต้นคำหรือในคำ(กลางคำ) ส่วน ς ใช้เขียนท้ายคำ

Τ , τ ... ตัฟ ( taf ) [ ταυ ]

Υ , υ ... อิฟซิลอน ( 'if-si-lon ) [ ύψιλον ]

Φ , φ ... ฟี ( phi ) [ φι ]

Χ , χ ... ฮี ( chi ) [ χι ]

Ψ , ψ ... พซี ( p'si ) [ ψι ]

Ω , ω ... โอเม้กา ( o-'me-ga ) [ ωμέγα ]

มาเจาะลึกเกี่ยวกับอักษรกรักกัน

อักษรกรีก(ギリシア文字)

อักษรกรีกนั้นมีทั้งหมด ๒๔ ตัว แบ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก เช่นเดียวกับอักษรโรมัน แต่สำหรับอักษรตัวพิมพ์เล็กจะมี ๒๕ รูป เนื่องจากตัวซิกมาเขียนได้สองแบบ

นอกจากนี้จริงๆแล้วยังมีอักษรที่เลิกใช้แล้วอยู่อีก ซึ่งจะไม่กล่าวถึง

เนื่องจากผู้เขียนสนใจภาษากรีกในเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่าภาษาศาสตร์ ดังนั้นในหน้านี้จะไม่ขอลงลึกเรื่องภาษา

อักษรกรีกถูกนำมาใช้ในหลายด้าน ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ใช้เป็นตัวแปรหรือสัญลักษณ์ในสมการ ใช้เป็นชื่ออนุภาค ชื่อสาร ในทางดาราศาสตร์ใช้อ้างอิงเป็นชื่อดาวโดยเรียงตามลำดับความสว่าง

มาเริ่มทำความรู้จักกับอักษรกรีกกันดีกว่า
ในนี้จะบอกรายละเอียดของอักษร ทั้งเสียงอ่าน และประโยชน์การใช้งานที่มักจะพบ

Α α άλφα Alpha อัลฟา,แอลฟา アルファ
เสียงสระ อา
อักษรตัวพิมพ์เล็กใช้แทนค่าความเร่งเชิงมุมในกลศาสตร์
ใช้แทนค่า thermal expansion ในทางอุณหพลศาสตร์
ใช้แทนอนุภาคอัลฟา
ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการแปรผันในทางคณิตศาสตร์
ในทางดาราศาสตร์ใช้เป็นชื่อของดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่ม
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว A ในอักษรโรมัน

Β β βήτα Beta เบตา,วีตา ベータ、ヴィタ
เสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ว (เหมือน v ในภาษาอังกฤษ)
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่า compressibility ในทางอุณหพลศาสตร์และพลศาสตร์ของไหล
ใช้แทนอนุภาคเบตา คือ อิเล็กตรอน กับ โพสิตรอน
ในทางสัมพัทธภาพใช้แทนความเร็วเทียบกับความเร็วแสง(v/c)
ในทางอุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์สถิติ ใช้แทน 1/KT
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ใช้แทนฟังก์ชั่นเบตาในทางคณิตศาสตร์

Γ γ γάμα Gamma แกมมา,กามา ガンマ、ガマ
เสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ก(คล้าย g ในภาษาอังกฤษ)
หรือเสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ย
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่าคงที่ลอเรนซ์ในสัมพัทธภาพ
ใช้แทนค่าคงที่อเดียบาติกในอุณหพลศาสตร์
ใช้แทนรังสีแกมมา
ตัวพิมพ์ใหญ่ใช้แทนฟังก์ชั่นแกมมาในทางคณิตศาสตร์

Δ δ δέλτα Delta เดลตา デルタ、ゼルタ
เสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ด(เหมือน th ของคำว่า the ในภาษาอังกฤษ)
พบบ่อยที่สุดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง
บางครั้งก็ใช้ตัวพิมพ์เล็กเป็นสัญลักษณ์บอกถึงความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แทนตัว d
ตัวพิมพ์เล็กมักถูกใช้เยอะในคณิตศาสตร์
ใช้แทน Kronecker delta
ใช้แทน Dirac delta function
ในทางดาราศาสตร์ใช้แทนค่า declination

Ε ε έψιλον Epsilon เอปซิลอน エ・プシーロン
เสียงสระ เอ
บางครั้งก็เขียนเป็น ϵ
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่า permittivity ทางไฟฟ้า ของตัวกลาง
ในทางคณิตศาสตร์ใช้แสดงความเป็นสมาชิกของเซ็ต (เช่น a ϵ A คือ a เป็นสมาชิกของ A)
ในบางครั้งยังใช้แทนพลังงาน Ɛ
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว E ในอักษรโรมัน

Ζ ζ ζήτα Zeta เซตา,ซีตา ゼータ、ジタ
เสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ซ(เหมือน z ในภาษาอังกฤษ) หรือ ดซ(dz)
แทบไม่เคยเห็นใช้งานที่ไหน เท่าที่พอจะเห็นก็คือ ฟังก์ชั่นเซตาของรีมันน์
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว Z ในอักษรโรมัน

Η η ήτα Eta เอตา,อีตา イータ、イタ
เสียงสระ อี
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่าความหนืดในพลศาสตร์ของไหล
ใช้แทนค่าประสิทธิภาพของเครื่องยนต์คาร์โนต์
บางครั้งใช้แทนค่าดัชนีหักเห (แทนตัว n ที่นิยมใช้มากกว่า)
ใช้แทนอนุภาค เอตา-เมซอน
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ใช้แทนค่าเอนธาลปีในอุณหพลศาสตร์ แต่เนื่องจากเหมือนกับตัว H ในอักษรโรมันจึงมักเข้าใจว่าเป็นตัว h ใหญ่

Θ θ θήτα Theta เธตา,ธีตา シータ、シタ
เสียงพยัญชนะ ธ(เหมือน th ในภาษาอังกฤษ)
อักษรตัวนี้ คนไทยมักจะเรียกว่า เซตา กันจนติด แต่ความจริงต้องอ่านว่า เธตา(ไม่ใช่ เทตา ด้วย)
ที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ ใช้แทนมุมต่างๆนั่นเอง

Ι ι γιώτα Iota อิโอตา,โยตา イオタ、ヨタ
เสียงสระ อี
มักไม่นิยมใช้แทนเป็นตัวแปร

Κ κ κάππα Kappa แคปปา,คาปา カッパ、カパ
เสียงพยัญชนะ ก,ค(เหมือน k ในภาษาอังกฤษ)
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่า dielectric constant ของตัวกลาง
ใช้แทนค่า compressibility ในทางอุณหพลศาสตร์
และยังใช้เป็นค่าคงที่จับฉ่าย
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว K ในอักษรโรมัน

Λ λ λάμβδα Lambda แลม(บ์)ดา,ลัมดา ラム(ブ)ダ
เสียงพยัญชนะ ล
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้บ่อยที่สุดในเรื่องของความยาวคลื่น
และยังมักจะใช้กับค่าคงตัวของอัตราการแผ่รังสี หรือการย่อยสลายต่างๆ
ใช้แทน lagrange multiplier ในแคลคูลัส
ใช้แทน eigenvalue ในพีชคณิตเชิงเส้น
ใช้แทนความหนาแน่นเชิงเส้น
ใช้แทนมุมลองติจูดในระบบพิกัดภูมิศาสตร์
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ในทางจักรวาลวิทยา ใช้แทนค่าคงที่จักรวาล

Μ μ μι Mu มิว,มี ミュー、ミ
เสียงพยัญชนะ ม
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
ใช้แทน integrating factor ในสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ
ใช้แทน chemical potential ในอุณหพลศาสตร์
ใช้เป็นตัวย่อหมายถึงไมโคร(10 ยกกำลัง -6)
ใช้แทนอนุภาคมิวออน
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว M ในอักษรโรมัน

Ν ν νι Nu นิว,นี ニュー、ニ
เสียงพยัญชนะ น
อักษรตัวพิมพ์เล็ก บางครั้งแทนค่าความถี่ แทนที่จะใช้ตัว f
ใช้แทนอนุภาคนิวตริโน
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่จะไม่มีการใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว N ในอักษรโรมัน

Ξ ξ ξι Xi คฺซี,คฺไซ クシ、クサイ
เสียงพยัญชนะ คซ
เป็นอักษรที่เขียนยากที่สุด ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่เลย
มีการใช้งานน้อย เท่าที่เห็น อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ใช้แทน Partition function ของระบบ grand canonical ensemble ในกลศาสตร์สถิติ
บางครั้งอาจเจอเป็นตัวแปรจับฉ่าย เวลาคนไม่รู้จะใช้ตัวแปรไหนแล้ว

Ο ο όμικρον Omicron โอมิครอน オミクロン
เสียงสระ โอ
เนื่องจากรูปร่างเหมือนกับอักษรโรมันทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ทั่วไป

Π π πι Pi ไพ,พี パイ、ピ
เสียงพยัญชนะ ป,พ
พูดถึงไพ แน่นอนว่าต้องนึกถึงค่าไพทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.14159...
ใช้แทนอนุภาคไพออน
ส่วนอักษรตัวพิมพ์ใหญ่จะใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับผลคูณรวมทั้งหมด เช่นเดียวกับซิกมาที่หมายถึงผลบวกรวมทั้งหมด

Ρ ρ ρο Rho โร ロー、ロ
เสียงพยัญชนะ ร
อักษรตัวพิมพ์เล็ก นิยมใช้กับเรื่องของความหนาแน่น บางครั้งก็ไม่ใช่หมายถึงแค่มวลต่อปริมาตร แต่ยังรวมถึง มวลต่อความยาว ความหนาแน่นประจุ หรือความหนาแน่นของอะไรต่างๆ
บางครั้งใช้หมายถึงรัศมีของระบบพิกัดทรงกลมหรือทรงกระบอก
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว P ในอักษรโรมัน

Σ σ ς σίγμα Sigma ซิกมา シグマ
เสียงพยัญชนะ ซ,ส
หรือเสียงพยัญชนะใกล้เคียงเสียง ซ(เหมือน z ในภาษาอังกฤษ)
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่นั้นเราจะคุ้นเคยกันดีในฐานะของสัญลักษณ์ผลบวกรวม
อักษรตัวพิมพ์เล็กใช้แทนความหนาแน่นต่อหน่วยพื้นที่
ใช้แทนสภาพนำไฟฟ้าของตัวนำ
ใช้แทนค่า standard deviation ในทางสถิติ
ใช้แทนค่าคงที่สเตฟาน-โบลทซ์มันน์

Τ τ ταυ Tau เทา,ทัฟ タウ、タフ
เสียงพยัญชนะ ต,ท
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่าทอร์กในทางกลศาสตร์
ใช้แทน propertime ในสัมพัทธภาพ
ใช้แทนอนุภาค tau lepton
บางครั้งใช้แทนค่าคาบต่างๆ
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว T ในอักษรโรมัน

Υ υ ύψιλον Upsilon อุปซิลอน,อิปซิลอน ウプシロン、イ・プシロン
เสียงสระ อี
ยังไม่พบการใช้งานทั่วไป

Φ φ φι Phi ฟี,ไฟ フィ、ファイ
เสียงพยัญชนะ ฟ
อักษรตัวพิมพ์เล็ก มักพบบ่อยในการใช้แทนมุมต่างๆ รองจากเธตา
แทนมุมอาซิมูธในระบบพิกัดทรงกลม
แทนมุมละติจูดในระบบพิกัดภูมิศาสตร์
แทนมุมเฟสของคลื่น หรือมุมเฟสของจำนวนเชิงซ้อน
แทนค่าศักย์ไฟฟ้าในทางแม่เหล็กไฟฟ้า
แทนค่า work function ในทางอิเล็กทรอนิกส์
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ใช้แทนค่าฟลักซ์ในทางแม่เหล็กไฟฟ้า

Χ χ χι Chi คี,ไค ヒ、カイ
เสียงพยัญชนะอยู่ระหว่าง ฮ กับ ค(ออกเสียง ค ให้ออกมาจากคอ)
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่า chi-square ในทางสถิติ
แทนค่า susceptibility ในทางแม่เหล็กไฟฟ้า
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากเหมือนกับตัว X ในอักษรโรมัน

Ψ ψ ψι Psi พฺซี,พฺไซ プシ、プサイ
เสียงพยัญชนะ พซ
ทั้งอีกษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ใช้แทนฟังก์ชั่นคลื่นของชโรดิงเงอร์

Ω ω ωμέγα Omega โอเมกา オメガ
เสียงสระ โอ
อักษรตัวพิมพ์เล็ก ใช้แทนค่าความเร็วเชิงมุมในทางกลศาสตร์
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนหน่วยโอห์มของความต้านทานของตัวนำ

* วิธีการออกเสียงนี่เป็นแบบยุคใหม่ สำหรับกรีกยุคเก่าจะออกเสียงต่างกันออกไป ซึ่งไม่ได้พูดถึง
* จะเห็นว่าสระ อี มีถึง ๓ ตัว ซึ่งความจริงแล้ว ในภาษากรีกโบราณ ทั้งสามตัวนี้ออกเสียงต่างกัน
* ชื่อ φείβλας ให้อ่านแบบกรีกโบราณ (β = บ, ει = เอ)

* ประโยชน์การใช้งานนั้น เขียนเท่าที่นึกออก หากใครนึกออกเพิ่มเติมก็ช่วยบอกทีจะได้เพิ่มลงไป

เพิ่มเติม...
ใครสนใจอักษรกรีกในเชิงของภาษา สามารถอ่านได้ที่
http://zomitza.exteen.com/20081021/greek-pronunciation

เครดิตปนๆกันไปอย่าคิดมาก
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://paradise.niceboards.net
Secondo
Register
Register
Secondo


จำนวนข้อความ : 4
ค่าความนิยม : 0
Join date : 06/11/2010

อักษรกรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: อักษรกรีก   อักษรกรีก EmptyThu Dec 09, 2010 8:37 pm

ขอบคุณสำหรับ
ความรู้
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
อักษรกรีก
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Center of Believe :: Relax Zone :: General Talk-
ไปที่: